วันศุกร์ที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔

อานิสงศ์ของทาน ศีล ภาวนา




การทำทาน

          การทำทาน ได้แก่การสละทรัพย์สิ่งของสมบัติของตนที่มีอยู่ให้แก่ผู้อื่น โดยมุ่งหวังจะจุนเจือให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์และความสุขด้วยความเมตตาจิต ของตน ทานที่ได้ทำไปนั้นจะทำให้ผู้ทำทานได้บุญมากหรือน้อยเพียงใดย่อมสุดแล้วแต่ องค์ประกอบ 3 ประการต่อไปนี้แล้ว ทานนั้นย่อมมีผลมาก ได้บุญบารมีมาก กล่าวคือ

องค์ประกอบ ข้อ1. วัตถุทานที่ให้ต้องบริสุทธิ์

       วัตถุทานที่ให้ ได้แก่สิ่งของทรัพย์สมบัติที่ตนได้สละให้เป็นทานนั้นเอง จะต้องเป็นของบริสุทธิ์ที่จะเป็นของบริสุทธิ์ได้จะต้องเป็นสิ่งของที่ตนได้ แสวงหาได้มาด้วยความบริสุทธิ์ในการประกอบอาชีพไม่ใช่ของที่ได้มาเพราะการ เบียดเบียนผู้อื่น เช่น ได้มาโดยทุจริต ลักทรัพย์ ยักยอกฉ้อโกง ปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ ฯลฯ

องค์ประกอบ ข้อ2. เจตนาให้ทานต้องบริสุทธิ์

       การให้ทานนั้นโดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงก็เพื่อเป็นการขจัดความโลภ ความตระหนี่เหนี่ยวแน่นความหวงแหนหลงไหลในทรัพย์สมบัติของตน อันเป็นกิเลสหยาบ คือ โลภกิเลส และเพื่อเป็นการสงเคราะห์ผู้อื่นให้ได้รับความสุขด้วยเมตตาธรรมของตนอันเป็น บันไดก้าวแรก ในการเจริญเมตตาในพรหมวิหาร 4 ให้เกิดขึ้นถ้าได้ให้ทานด้วยเจตนาดังกล่าวแล้ว เรียกว่า เจตนาการในการทำทานบริสุทธิ์แต่ว่าเจตนาที่บริสุทธิ์นั้น ถ้าบริสุทธิ์จริงจะต้องสมบูรณ์พร้อมกัน 3 ระยะ
(1) ระยะก่อนที่จะให้ทาน ก่อนจะให้ทานก็มีจิตโสมนัสร่าเริงเบิกบานยินดีที่จะให้ทานเพื่อสงเคราะห์ผู้ อื่นให้ได้รับความสุขเพราะทรัพย์สิ่งของของตน
(2) ระยะที่กำลังลงมือให้ทาน ระยะที่กำลังลงมือทำทานอยู่นั้นเองก็ทำด้วยจิตโสมนัสร่าเริงยินดีและเบิกบาน ให้ทานที่ตนกำลังทำให้ผู้อื่น
(3) ระยะหลังจากที่ได้ให้ทานไปแล้ว ครั้ยเมื่อได้ให้ทานไปแล้วเสร็จ หลังจากนั้นก็ดีนานมาแล้วก็ดี เมื่อหวนคิดถึงทานที่ตนได้กระทำไปแล้วครั้งใดก็มีจิตโสมนัสร่าเริงเบิกบาน ยินดีในทานนั้นๆ

องค์ประกอบ ข้อ3. เนื้อนาบุญต้องบริสุทธิ์
        คำว่า เนื้อนาบุญ ในที่นี้ได้แก่บุคคลผู้รับการทำทานของผู้ทำทานนั้นเองนับเป็นองค์ประกอบข้อ สำคัญที่สุด แม้ว่าองค์ประกอบในการทำทานข้อ1 และ 2 จะงานบริสุทธิ์ครบถ้วนดีแล้วกล่าวคือวัตถุที่ทำทานนั้นเป็นของแสวงหาได้มา ด้วยความบริสุทธิ์เจตนาในการทำทานก็งามพร้อมบริสุทธิ์ทั้งสามระยะ แต่ตัวผู้รับการทำทานเป็นคนที่ไม่ดี ไม่ใช่เนื้อนาบุญที่บริสุทธิ์ เป็นเนื้อนาบุญที่เลว ทานที่ทำไปนั้นก็ไม่ผลิดอกออกผล

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ว่า แม้วัตถุทานจะบริสุทธิ์ดีเจตนาในการทำทานจะบริสุทธิ์ดี จะทำให้ทานนั้นมีผลมากหรือน้อย ย่อมขึ้นอยู่กับเนื่อนาบุญเป็นลำดับต่อไปนี้ คือ
1. ทำทานแก่สัตว์เดรัจฉาน แม้จะมีมากถึง 100 ครั้งก็ได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่มนุษย์ แม้จะเป็นมนุษย์ที่ไม่มีศีลไม่มีธรรมเลยก็ตามทั้งนี้เพราะสัตว์ย่อมมีบุญ วาสนาบารมีน้อยกว่ามนุษย์และสัตว์ไม่ใช่เนื้อนาบุญที่ดี
2. ให้ทานแก่มนุษย์ที่ไม่มีศีล ไม่มีธรรมวินัย แม้จะให้มาถึง 100 ครั้งก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่ผู้ที่มีศีล 5 แม้จะให้เพียงครั้งเดียวก็ตาม
3. ให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล 5 แม้จะให้มาถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่ผู้ที่มีศีล 8 แม้จะให้เพียงครั้งเดียวก็ตาม
4. ให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล 8 แม้จะให้มาถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่ผู้ที่มีศีล 10 คือสามเณรในพุทธศาสนา แม้จะให้เพียงครั้งเดียวก็ตาม
5. ถวายทานแก่สามเณรผู้ที่มีศีล 10 แม้จะให้มาถึง 100 ครั้งก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่สมมุติสงฆ์ ซึ่งมีศีลปาฎิโมกข์สังวร 227 ข้อ
6. ถวายทานแก่พระสมมุติสงฆ์ แม้จะมาถึง 100 ครั้งก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายแก่พระโสดาบันแม้ว่าจะถวายทานดังกล่าวแต่ เพียงครั้งเดียวก็ตาม (ความจริงยังมีการแยกเป็นพระโสดาปัตติมรรคและพระโสดาปัตติผล ฯลฯ เป็นลำดับไปจนถึงพระอรหันต์ผลแต่ในที่นี้จะกล่าวแต่เพียงย่นย่อพอให้ได้ใจ ความเท่านั้น)
7. ถวายทานแก่พระโสดาบัน แม้จะมากถึง 100 ครั้งก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระสกิทาคามีแม้จะถวายทานดัง กล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม
8. ถวายทานแก่พระสกิทาคามี แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระอนาคามีแม้จะถวายทานดังกล่าว เพียงครั้งเดียวก็ตาม
9. ถวายทานแก่พระอนาคามี แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระอรหันต์แม้จะถวายทานดังกล่าว เพียงครั้งเดียวก็ตาม
10. ถวายทานแก่พระอรหันต์ แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าแม้จะถวายทานดัง กล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม
11. ถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า แม้จะมากถึง 100 ครั้งก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแด่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม
12. ถวายทานแด่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะมากถึง 100 ครั้งก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายสังฆทานที่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นประธานแม้จะถวายสังฆทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม
13. การถวายสังฆทานที่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายวิหารทาน แม้จะได้กระทำแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม วิหารทาน ได้แก่ การสร้างหรือร่วมสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ศาลาโรงธรรมศาลาท่าน้ำ ศาลาที่พักอาศัยคนเดินทางอันเป็นประโยชน์สาธารณะที่คนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน อนึ่ง การสร้างสิ่งที่เป็นสาธารณะประโยชน์ หรือสิ่งที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันแม้จะไม่เกี่ยวเนื่องกับกิจในพระพุทธ ศาสนา เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน บ่อน้ำ แท๊งก์น้ำ ศาลาป้ายรถโดยสารประจำทาง สุสาน เมรุเผาศพ ก็ได้บุญมากในทำนองเดียวกัน
14. การถวายวิหารทาน แม้จะมากถึง 100 ครั้ง(100หลัง)ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ธรรมทาน แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม การให้ธรรมทานก็คือการเทศน์ การสอนธรรมะแก่ผู้อื่นที่ยังไม่รู้ให้ได้รู้ที่รู้อยู่แล้วให้รู้ยิ่งๆขึ้น ให้ได้เข้าใจในมรรค ผล นิพพานให้ผู้ที่เป็นมิจฉาทิฐิได้กลับใจเป็นสัมมาทิฐิ ชักจูงผู้คนให้เข้าปฏิบัติธรรมรวมตลอดถึงการพิมพ์แจกหนังสือธรรมะ
15. การให้ธรรมทาน แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ อภัยทาน แม้จะให้เพียงครั้งเดียวก็ตาม การให้อภัยทานก็คือการไม่ผูกโกรธ ไม่อาฆาตจองเวร ไม่พยาบาทคิดร้ายผู้อื่นแม้แต่ศัตรู ซึ่งได้บุญกุศลแรงและสูงมากในฝ่ายทาน เพราะการบำเพ็ญเพียรเพื่อละ โทสกิเลส และเป็นการเจริญ เมตตาพรหมวิหารธรรม อันเป็นพรหมวิหาร 4 นั้นเป็นคุณธรรมที่องค์ธรรมของโยคีบุคคลที่บำเพ็ญฌาณและวิปัสสนา ผู้ที่ทรงพรหมวิหาร 4 ได้ย่อมเป็นผู้ทรงฌาณ ซึ่งเมื่อเมตตาพรหมวิหารธรรมได้เกิดขึ้นแล้วเมื่อใดก็ย่อมละเสียได้ซึ่ง พยาบาท ผู้นั้นจึงจะสามารถให้อภัยทานได้การให้อภัยทานจึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน และยากเย็นจึงจัดเป็นทานที่สูงกว่าการให้ทานทั้งปวง
อย่างไรก็ดี การให้อภัยทานแม้จะมากเพียงใด แม้จะชนะให้ทานอื่นๆทั้งมวลผลบุญนั้นก็ยังอยู่ในระดับต่ำกว่า ฝ่ายศีล เพราะเป็นการบำเพ็ญบารมีคนละขั้นต่างกัน

อานิสงส์ของการให้ทาน
ความเป็นผู้มีจิตตั้งมั่นในคุณของพระรัตนตรัยโดยไม่เปลี่ยนแปลงตลอดชีวิต และกระทำสักการบูชาอยู่เนืองๆไม่ทอดทิ้ง

อานิสงส์ที่ได้รับ คือ เป็นผู้ที่ไม่ประมาท มีสติดี เมื่อละโลกนี้ไปแล้วจะเกิดในเทวโลก แวดล้อมด้วนเหล่าบริวารคอยบำรุงบำเรออยู่ตลอดกาล จะได้เสวยสมบติเป็นทิพย์ ครั้นเมื่อจุติจากเทวโลกแล้วมาปฏิสนธิในมนุษยโลกจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ครอบครองทวีปทั้ง 4 คือ ชมพูทวีป อุตตกุรุทวีป อมรโคยานทวีป และปุพพวิเทหทวีป มีรัตนะทั้ง 7 (สัญลักษณ์ของจักรพรรดิราช) คือ จักรแก้ว นางแก้ว ขุนพลแก้ว ขุนคลังแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว และมณีแก้ว แม้ในอนาคตชาติก็จะได้เกิดอยู่แต่ในสุคติภูมิเป็นมนุษย์บ้าง เทวดาบ้าง และเป็นที่เคารพบูชาของมหาชน แม้เหล่าเทวดาก็ชื่นชมยินดียกย่องสรรเสริญ มีรูปกายงดงามสมส่วนเป็นสง่าน่าเกรงขาม มียศมากอำนาจมาก มีจิตตั้งมั่นไม่ฟุ้งซ่าน ไม่มีความสะดุ้งหวั่นไหว และจะได้บรรลุคุณวิเศษทั้งปวง
กรรมวิบากของศีล ๕

ผู้ที่ล่วง ละเมิดสิกขาบทที่ ๑ คือประพฤติปาณาติบาต (ฆ่าสัตว์) ย่อมได้รับกรรมวิบาก ๕ สถาน ได้แก่.-

๑.ย่อมเกิดในนรก
๒.ย่อมเกิดในกำเนิดสัตว์ ดิรัจฉาน
๓.ย่อมเกิดในกำเนิดเปตวิสัย (แดนแห่งเปรต)
๔.ย่อมเป็นผู้ มีอวัยวะพิการ
๕.โทษเบาที่สุด หากเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมเป็นผู้มีอายุสั้น

ผู้ที่ล่วงละเมิดสิกขาบทที่ ๒ คือประพฤติทินนาทาน(ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมย/ลัก ทรัพย์) ย่อมได้รับกรรมวิบาก ๕ สถาน ได้แก่.-

๑.ย่อมเกิดในนรก
๒.ย่อม เกิดในกำเนิดสัตว์ ดิรัจฉาน
๓.ย่อมเกิดในกำเนิดเปตวิสัย
๔.ย่อมเป็น ผู้ยากจนเข็ญในไร้ที่พึง
๕.โทษเบาที่สุด หากเกิดเป็นมนุษย์ ทรัพย์ย่อมฉิบหาย

ผู้ที่ล่วงละเมิดสิกขาบทที่ ๓ คือ ประพฤติผิดในกาม ย่อมได้รับกรรมวิบาก ๕ สถาน ได้แก่

๑.ย่อมเกิดในนรก
๒.ย่อมเกิดในกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน
๓.ย่อมเกิดในกำเนิดเปตวิสัย
๔.ย่อม เป็นผู้มีร่างกายทุพลภาพ ขี้เร่ มากไปด้วยโรค
๕.โทษเบาที่สุด หากเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมเป็นผู้มีศัตรูรอบด้าน

ผู้ที่ล่วงละเมิด สิกขาบทที่ ๔ คือประพฤติมุสาวาท พูดเท็จ ย่อมได้รับกรรมวิบาก ๕ สถาน ได้แก่.-

๑.ย่อมเกิดในนรก
๒.ย่อมเกิดในกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน
๓.ย่อม เกิดในกำเนิดเปตวิสัย
๔.ย่อมเป็นผู้มีวาจาไม่เป็นที่เชื่อถือ มีกลิ่นปากเหม็นจัด
๕.โทษเบาที่สุด หากเกิดเป็นมนุษย์ จะถูกกล่าวตู่อยู่เสมอ

ผู้ที่ล่วงละเมิดสิกขาบทที่ ๕ สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานนา คือผู้ดื่มสุราเมรัย ย่อมได้รับกรรมวิบาก ๕ สถาน ได้แก่.-

๑.ย่อมเกิดในนรก
๒.ย่อมเกิดในกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน
๓. ย่อมเกิดในเปตวิสัย
๔.ย่อมเป็นผู้มีสติไม่สมประกอบ
๕.โทษเบาที่สุด หากเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมเป็นบ้า

อนึ่ง โทษแห่งการดื่มสุราเมรัยและเสพสิ่งเสพติดให้โทษซึ่งผู้ประพฤติย่อมได้รับโทษ ในปัจจุบัน ๖ อย่าง คือ

๑.เสียทรัพย์ ๒.ก่อการทะเลาะวิวาท
๓.เกิด โรค ๔.ถูกติเตียน
๕.เป็นผู้ไม่มียางอาย ๖.ทอนกำลังสติปัญญา

อานิสงส์ แห่งการรักษาศีล ๕

สิกขาบทที่ ๑ ย่อมได้รับอานิสงส์ ๗ ประการ ได้แก่.-

๑.มีร่างกายสมส่วน ไม่พิการ
๒.เป็นคนแกล้วกล้าว่องไว มีกำลังมาก
๓.ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส ไม่เศร้าหมอง
๔.เป็นคนอ่อนโยน มีวาจาไพเราะ เป็นเสน่ห์แก่คนทั้งหลาย
๕.ศัตรูทำร้ายไม่ได้ ไม่ถูกฆ่าตาย
๖.มี โรคภัยเบียดเบียนน้อย
๗.ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน

สิกขาบทที่ ๒ ย่อมไดรับอานิสงส์โดยย่อ ๗ ประการ ได้แก่

๑.ย่อมมีทรัพย์สมบัติ มาก
๒.แสวงหาทรัพย์โดยชอบธรรมได้โดยง่าย
๓.โภคทรัพย์ที่หามาได้แล้ว ย่อมมั่นคงถาวร
๔.สมบัติไม่ฉิบหายเพราะโจรภัย อัคคีภัย และอุทกภัย เป็นต้น
๕.ย่อมได้รับอริยทรัพย์
๖.ย่อมไม่ได้ยินและรู้จักคำว่า ไม่มี
๗.อยู่ที่ไหนก็ย่อมเป็นสุข เพราะไม่มีใครเบียดเบียน

สิกขาบท ที่ ๓ ย่อมมีอานิสงส์โดยย่อ ๗ ประการ ได้แก่

๑.ไม่มีศัตรูเบียด เบียน
๒.เป็นที่รักของคนทั้งหลาย
๓.มีทรัพย์สมบัติบริบูรณ์
๔.ไม่ ต้องเกิดเป็นหญิงหรือเป็นกระเทยอีก
๕.เป็นผู้สง่า มีอำนาจมาก
๖.มี อินทรีย์ ๕ บริบูรณ์
๗.มีความสุข ไม่ต้องทำงานหนัก

สิกขาบท ที่ ๔ คือ ย่อมมีอานิสงส์โดยย่อ ๗ ประการ ได้แก่

๑.มีอินทรีย์ ๕ ผ่องใส
๒.มีวาจาไพเราะ มีไรฟันสม่ำเสมอเป็นระเบียบดี
๓.มีร่างกายสม ส่วนบริบูรณ์ ผิวพรรณเปล่งปลั่ง
๔.มีกลิ่นปากหอมเหมือนกลิ่นดอกบัว
๕.มี วาจาศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เชื่อถือของคนทั่วไป
๖.ไม่เป็นอ่าง ไม่เป็นใบ้
๗.มี ริมฝีปากแดงระเรื่อและบาง

สิกขาบทที่ ๕ มีอานิสงส์โดยย่อ ๖ ประการ ได้แก่

๑.รู้จักอดีต อนาคต ปัจจุบันได้รวดเร็ว
๒.มี สติตั้งมั่นทุกเมื่อ
๓.มีความรู้มาก มีปัญญามาก
๔.ไม่บ้า ไม่ใบ้ ไม่มัวเมาหลงไหล
๕.มีวาจาไพเราะ มีน้ำคำเป็นที่น่าเชื่อถือ
๖.มีความ ซื่อสัตย์ สุจริตทั้งกาย วาจา ใจ

ที่มา:บทความอานิสงส์ ทาน ศีล ภาวนา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น