วันศุกร์ที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔

ประสูติ

บทที่ ๑
ประเทศอินเดีย
  1. ประเทศอินเดีย
  2. เส้นทางการอพยพย้ายถิ่นของอายัน(อริยกะ)
  3. อโยธยา (AYODHAYA)
อินเดียยุคพุทธกาล (India in Buaddha's time)
     ในยุคนี้ชนชาวอารยันเริ่มตั้งหลักแหล่งที่มั่นคงที่ลุ่มน้ำคงคา สิทธุและยมุนา พวกเขาได้ผสมผสานแต่งงานกับชาวมิลักขะเดิม จนเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างทั้งโครงสร้างของพระเพณี วัฒนธรรม รูปร่างหน้าตาของผู้คน ศาสนาและวัฒนธรรม ในยุคนี้ศาสนาพราหมณ์ยังเป็นศาสนาที่มีอิทธิพลต่อประชาชนและผู้ปกครองอย่างสูง โดยมีพระเวท ๓ เป็นคัมภีร์หลัก ที่สำคัญ โดยมีประเด็นที่สำคัญดังนี้

๑. การเมืองการปกครอง (Political system)

     ชมพูทวีปยุคพุทธกาลแบ่งแคว้นออกเป็น ๑๖ แคว้นใหญ่ และ ๕ แคว้นเล็กโดยมีผู้ปกครองประจำรัฐ อาณาจักรเหล่านี้ปกครองระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คือระบบที่มีพระราชามีอำนาจเด็ดขาดบ้าง ระบบสามัคคีธรรมคือมีสภาเป็นที่ปรึกษาบ้าง ระบบประชาธิปไตยบ้าง เช่นแคว้นมัลละ และวัชชีแต่ส่วนมากจะเป็นระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีผู้ปกครองแผ่นดินเมื่อก่อนนั้นเรียกว่า ราชาบ้าง มหาราชาบ้าง ในสมัยก่อนพุทธกาล การปกครองยังไม่ได้แบ่งออกเป็นสัดส่วนอย่างชัดเจนจนมาถึงยุคพุทธกาลจึงมีการแบ่งเขตชัดเจน การปกครองโดยแบ่งออกเป็นสัดส่วนอย่างชัดเจนมาถึงยุคพุทธกาลจึงมีการแบ่งเขตชัดเจน การปกครองโดยแบ่งเป็นเมือง ๆ มีพระราชาเป็นผู้ปกครองนี่ได้มีสืบมาจนถึงอินเดียได้รับเอกราช พ.ศ.๒๔๙๐ เมื่อร่างรัฐธรรมนูญแล้ว จึงยกเลิกระบบเจ้าปกครองนครเหมือนเดิม สมัยนั้นความสำนึกว่าเป็นชาติอินเดียยังไม่เกิด มีแต่ความรู้สึกว่าตนเป็นคนแคว้นหรือรัฐนั้นเท่านั้น แคว้นใหญ่ ๑๖ แคว้น และเล็ก ๕ แคว้น ตามที่ปรากฏในอุบาลี อุโปสถสูตร ติกนิบาตอังคุตตรนิกายมีดังนี้คือ
ที่  ชื่อแคว้น เมืองหลวง ผู้ปกครอง ที่ตั้งปัจจุบัน
๑ อังคะ(Anga) จำปา พระเจ้าธตรัฏฐะ ภคัลปุระ รัฐเบงกอล
๒ มคธ(Magadha) ราชคฤห์  พระเจ้าพิมพิสาร รัฐพิหาร
๓ กาสี(Kasi) พาราณสี  พระเจ้าพรหมทัตต์  รัฐอุตตรประเทศ
๔ โกศล(Kosala) สาวัตถี  พระเจ้าปเสนทิโกศล รัฐอุตตรประเทศ
๕ วัชชี(Vajji) เวสาลี  คณะเจ้าวัชชีบุตร รัฐอุตตรประเทศ
๖ มัลละ(Malla) ปาวา,กุสินารา คณะเจ้ามัลละกษัตริย์  รัฐอุตตรประเทศ
๗ เจตี(Cheti) โสตถิวดี พระเจ้าอุปริจรา รัฐมัธยมประเทศ
๘ วังสะ(Vamsa) โกสัมพี พระเจ้าอุเทน รัฐอุตตรประเทศ
๙ กุรุ(Guru) อินทปัตถ์  - รัฐปัญจาป
๑๐ ปัญจาละ(Panchala) กัมปิลละ - จังหวัดบเรลลี
๑๑ มัจฉะ(Maccha) มัตสยาคร - ชัยปูร์,รัฐราชสถาน
๑๒ สุรเสนะ(Surasena) มถุรา - รัฐอุตตรประเทศ
๑๓ อัสสกะ(Assaka) โปตลิ - รัฐมหาราษฎร์
๑๔ อวันตี(Avanti) อุชเชนี  พระเจ้าจันทปัชโชติ รัฐมัธยมประเทศ
๑๕ คันธาระ(Gandhara) ตักกศิลา - ปากีสถาน
๑๖ กัมโพชะ(Kamboja) ทวารกะ - ปากีสถาน
๑๗ สักกะ(Sakka) กบิลพัสดุ์  พระเจ้าสุทโธทนะ เนปาล
๑๘ โกลิยะ(Koliya) เทวทหะ ราชวงศ์โกลิยะ เนปาล
๑๙ ภัคคะ(Bhagga) สุสุงมารคิรี  เจ้าภัคคะ เนปาล
๒๐ วิเทหะ(Videha) มิถิลา  เมืองชนัคปูร์ เนปาล
๒๑ อังคุตตราป(Anguttarapa) - - ปากีสถาน


         ชมพูทวีปถูกจัดแบ่งออกเป็น ๒ ส่วนใหญ่ ๆ คือ มัธยมประเทศ หมายถึงส่วนกลาง และปัจจันตประเทศ หมายถึง หมายถึงส่วนรอบนอก หรือชายแดน แผ่นดินที่จัดว่าเป็นมัชฌิมประเทศได้แก่
          ทิศบูรพา(ตะวันออก) สิ้นสุดที่นครมหาศาล
          ทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) สิ้นสุดที่แม่น้ำสัลลวตี
          ทิศทักษิณ(ใต้) สิ้นสุดที่เสตกัณณิกนิคม
          ทิศปัจจิม (ตะวันตก) สิ้นสุดที่ถูกคาม
          ทิศอุดร (ทิศเหนือ) สิ้นสุดที่ภูเขาอุสีรธชะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น