วันจันทร์ที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔

ทางคัมภีร์พระพุทธศาสนา


 ตายแล้วไปไหน  
 เรื่อง     “ตายแล้วไปไหน”     เป็นปัญหาที่น่าคิดและน่าสนใจมากเรื่องหนึ่ง  ที่มนุษย์ทุกชาติทุกภาษาค้นคิดกันมานานแล้ว    ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน  ว่าคนเราตายแล้วไปไหน ?  ตายแล้วเกิดอีกหรือเปล่า ?  นรกสวรรค์มีจริงหรือไม่ ?   วิญญาณหรือจิตมีจริงหรือเปล่า ?  ผีมีจริงหรือไม่ ?    คำตอบต่อปัญหาเหล่านี้ คือสิ่งที่จะนำมาชี้แจงให้ทราบในที่นี้เดิมทีเดียว      แม้ผู้เขียนเองก็ไม่ค่อยเชื่อว่า ตายแล้วจะมีการเกิดอีกแม้เมื่อบวชเข้ามาแล้วก็ยังสงสัยอยู่ แต่เมื่อได้ศึกษาค้นคว้าตามหลักพระพุทธศาสนาแล้ว ก็ปรากฏว่า พระพุทธเจ้าตรัสยืนยันว่าสิ่งเหล่านี้มีจริง       แต่ก็ยังไม่เชื่อสนิทใจอยู่นั่นเอง  เพราะเป็นเพียงพบหลักฐานในตำราเท่านั้น เมื่อได้ปฏิบัติกรรมฐาน    และได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งได้เดินทางรอนแรมไปทั้งในประเทศไทยแล้วต่างประเทศหลายแห่ง ได้พบเห็นสิ่งต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ในที่สุดก็ต้องยอมรับตามที่พระพุทธเจ้าตรัสยืนยันไว้ว่า   คนเราตายแล้วต้องไปตามกรรมของตน แต่ที่ว่าไปไหนนั้นยังให้คำตอบชี้ชัดลงไปแน่นอนไม่ได้  เพราะแล้วแต่กรรมที่ทำไว้จะเสกสรรค์ให้เป็นไป

วันเสาร์ที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔

คู่มือ การป้องกันการฆ่าตัวตาย

 

อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท โกธวรรคที่ ๑๗

หน้าต่างที่   ๓ / ๘.

กรรม ๑๒, ผลของการกระทำ ๑๒ อย่าง

มนุษย์ผู้มีใจสูง

ลักษณะมิตรแท้ มิตรเทียม ( english )

มิตรปฏิรูปก์ หรือ มิตรเทียม ๔ (คนเทียมมิตร, คนที่พึงทราบว่า เป็นศัตรูผู้มาในร่างของมิตร - false friends; foes in the guise of friends)

ทิศ 6

ทิศ ๖ ข้อได้แก่ข้อควรปฏิบัติต่อบุคคลต่างๆ

สตรีกับพระพุทธศาสนา ธิดา, มารดาและภรรยา


วันศุกร์ที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔

ประสูติ

บทที่ ๑
ประเทศอินเดีย
  1. ประเทศอินเดีย
  2. เส้นทางการอพยพย้ายถิ่นของอายัน(อริยกะ)
  3. อโยธยา (AYODHAYA)
อินเดียยุคพุทธกาล (India in Buaddha's time)
     ในยุคนี้ชนชาวอารยันเริ่มตั้งหลักแหล่งที่มั่นคงที่ลุ่มน้ำคงคา สิทธุและยมุนา พวกเขาได้ผสมผสานแต่งงานกับชาวมิลักขะเดิม จนเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างทั้งโครงสร้างของพระเพณี วัฒนธรรม รูปร่างหน้าตาของผู้คน ศาสนาและวัฒนธรรม ในยุคนี้ศาสนาพราหมณ์ยังเป็นศาสนาที่มีอิทธิพลต่อประชาชนและผู้ปกครองอย่างสูง โดยมีพระเวท ๓ เป็นคัมภีร์หลัก ที่สำคัญ โดยมีประเด็นที่สำคัญดังนี้

๑. การเมืองการปกครอง (Political system)

     ชมพูทวีปยุคพุทธกาลแบ่งแคว้นออกเป็น ๑๖ แคว้นใหญ่ และ ๕ แคว้นเล็กโดยมีผู้ปกครองประจำรัฐ อาณาจักรเหล่านี้ปกครองระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คือระบบที่มีพระราชามีอำนาจเด็ดขาดบ้าง ระบบสามัคคีธรรมคือมีสภาเป็นที่ปรึกษาบ้าง ระบบประชาธิปไตยบ้าง เช่นแคว้นมัลละ และวัชชีแต่ส่วนมากจะเป็นระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีผู้ปกครองแผ่นดินเมื่อก่อนนั้นเรียกว่า ราชาบ้าง มหาราชาบ้าง ในสมัยก่อนพุทธกาล การปกครองยังไม่ได้แบ่งออกเป็นสัดส่วนอย่างชัดเจนจนมาถึงยุคพุทธกาลจึงมีการแบ่งเขตชัดเจน การปกครองโดยแบ่งออกเป็นสัดส่วนอย่างชัดเจนมาถึงยุคพุทธกาลจึงมีการแบ่งเขตชัดเจน การปกครองโดยแบ่งเป็นเมือง ๆ มีพระราชาเป็นผู้ปกครองนี่ได้มีสืบมาจนถึงอินเดียได้รับเอกราช พ.ศ.๒๔๙๐ เมื่อร่างรัฐธรรมนูญแล้ว จึงยกเลิกระบบเจ้าปกครองนครเหมือนเดิม สมัยนั้นความสำนึกว่าเป็นชาติอินเดียยังไม่เกิด มีแต่ความรู้สึกว่าตนเป็นคนแคว้นหรือรัฐนั้นเท่านั้น แคว้นใหญ่ ๑๖ แคว้น และเล็ก ๕ แคว้น ตามที่ปรากฏในอุบาลี อุโปสถสูตร ติกนิบาตอังคุตตรนิกายมีดังนี้คือ
ที่  ชื่อแคว้น เมืองหลวง ผู้ปกครอง ที่ตั้งปัจจุบัน
๑ อังคะ(Anga) จำปา พระเจ้าธตรัฏฐะ ภคัลปุระ รัฐเบงกอล
๒ มคธ(Magadha) ราชคฤห์  พระเจ้าพิมพิสาร รัฐพิหาร
๓ กาสี(Kasi) พาราณสี  พระเจ้าพรหมทัตต์  รัฐอุตตรประเทศ
๔ โกศล(Kosala) สาวัตถี  พระเจ้าปเสนทิโกศล รัฐอุตตรประเทศ
๕ วัชชี(Vajji) เวสาลี  คณะเจ้าวัชชีบุตร รัฐอุตตรประเทศ
๖ มัลละ(Malla) ปาวา,กุสินารา คณะเจ้ามัลละกษัตริย์  รัฐอุตตรประเทศ
๗ เจตี(Cheti) โสตถิวดี พระเจ้าอุปริจรา รัฐมัธยมประเทศ
๘ วังสะ(Vamsa) โกสัมพี พระเจ้าอุเทน รัฐอุตตรประเทศ
๙ กุรุ(Guru) อินทปัตถ์  - รัฐปัญจาป
๑๐ ปัญจาละ(Panchala) กัมปิลละ - จังหวัดบเรลลี
๑๑ มัจฉะ(Maccha) มัตสยาคร - ชัยปูร์,รัฐราชสถาน
๑๒ สุรเสนะ(Surasena) มถุรา - รัฐอุตตรประเทศ
๑๓ อัสสกะ(Assaka) โปตลิ - รัฐมหาราษฎร์
๑๔ อวันตี(Avanti) อุชเชนี  พระเจ้าจันทปัชโชติ รัฐมัธยมประเทศ
๑๕ คันธาระ(Gandhara) ตักกศิลา - ปากีสถาน
๑๖ กัมโพชะ(Kamboja) ทวารกะ - ปากีสถาน
๑๗ สักกะ(Sakka) กบิลพัสดุ์  พระเจ้าสุทโธทนะ เนปาล
๑๘ โกลิยะ(Koliya) เทวทหะ ราชวงศ์โกลิยะ เนปาล
๑๙ ภัคคะ(Bhagga) สุสุงมารคิรี  เจ้าภัคคะ เนปาล
๒๐ วิเทหะ(Videha) มิถิลา  เมืองชนัคปูร์ เนปาล
๒๑ อังคุตตราป(Anguttarapa) - - ปากีสถาน


         ชมพูทวีปถูกจัดแบ่งออกเป็น ๒ ส่วนใหญ่ ๆ คือ มัธยมประเทศ หมายถึงส่วนกลาง และปัจจันตประเทศ หมายถึง หมายถึงส่วนรอบนอก หรือชายแดน แผ่นดินที่จัดว่าเป็นมัชฌิมประเทศได้แก่
          ทิศบูรพา(ตะวันออก) สิ้นสุดที่นครมหาศาล
          ทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) สิ้นสุดที่แม่น้ำสัลลวตี
          ทิศทักษิณ(ใต้) สิ้นสุดที่เสตกัณณิกนิคม
          ทิศปัจจิม (ตะวันตก) สิ้นสุดที่ถูกคาม
          ทิศอุดร (ทิศเหนือ) สิ้นสุดที่ภูเขาอุสีรธชะ

อานิสงศ์ของทาน ศีล ภาวนา



คลังภาพกิจกรรม

วันอาทิตย์ที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔

การกราบ

การกราบ(อภิวาท) เป็นการแสดงความเคารพด้วย
วิธีนั่งประนมมือขึ้นเสมอหน้าผากแล้วน้อมศีรษะลงจรดพื้นหรือจรดมือ ณ ที่ใดที่หนึ่ง
แล้วน้อมศีรษะลงบนมือนั้น เช่น กราบลงบนตักก็อนุโลมถือว่าเป็นกราบ
ถ้าหมอบแล้วน้อมศีรษะจรดมือที่ประนมถึงพื้นเรียกว่า หมอบกราบ
การกราบมี 2 ลักษณะ คือ การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ และการกราบผู้ใหญ่